วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

คุ้มค่าที่ได้มาเรียน ป.บัณฑิต รุ่น 10 ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครูที่ทำให้ข้าพเจ้ามีความเป็นครูมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และได้มีเพื่อนและรู้จักกับน้อง ๆทื่น่ารัก

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

ภูมปัญญาท้องถิ่น






1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น "ผ้าคูบัว"พอดีวันก่อนไปธุระแถวคูบัวก็เลยถือโอกาสแวะเที่ยวซะหน่อย คนไทยเชื้อสายญวนที่นี่ใช้ผ้าจกกันมาตั้งแต่โบราณแล้วครับ แต่ก็เกือบจะสูญหายไปเหมือนกัน ยังดีที่ชาวบ้านช่วยกันอนุรักษ์ไว้ จนกระทั่งผ้าจกคูบัวกลายเป็นผ้าที่ขึ้นชื่อมาถึงทุกวันนี้คนนี้คือป้าพิมพ์ลูกสาวของคุณย้ายซ้อน ซึ่งคุณยายซ้อนนี่แหละ ที่เป็นผู้ริเริ่มให้เกิดการอนุรักษ์ผ้าคูบัวโบราณมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2517 ใช้ขนเม่นจกเส้นด้ายทีละห้องๆ เรียงไปทีละแถวแบบนี้แหละครับ หลายๆ แถวเข้าก็จะมองเห็นเป็นลวดลาย และก็เป็นที่มาของคำว่า... ผ้าจก ลวดลายก็เป็นลายโบราณ มีเยอะมากครับ ลายใหญ่ๆ ที่อยู่ตรงกลางเป็นลายหลัก ส่วนมากจะเป็นดอกไม้ เช่น ลายดอกเซียซ้อนหัก ลายดอกเซียซ้อยเซีย ส่วนข้างๆ จะเป็นลายประกอบ เช่น ลายย้ำ ลายขอกุญแจ ลายนกฮูกกินน้ำร่วมต้น ฯลฯ ที่ผมชอบก็คือลายโก๊งเก๊งครับ... ชื่อแปลกดี ผ้าผืนใหญ่เมื่อกางออกครับ ลายที่จกจะอยู่บริเวณเชิงผ้าครับ อันนี้วางโชว์หลายลายเลยครับ ราคาผ้าจกที่ทอจากไหมผืนละ 3,500 ถ้าเย็บเข้ากับผ้าผืนใหญ่แล้ว 4,500 ถ้าเป็นผ้าจกที่ทอจากฝ้ายก็จะถูกกว่า ทีแรกเห็นราคาก็รู้สึกว่าแพงจัง แต่พอรู้ว่าผ้าผืนนึงต้องนั่งจกกันเดือนนึงเต็มๆ ก็กลับรู้สึกว่า ราคามันถูกไปหรือเปล่าเนี่ย... เป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือ ประสบการณ์ และสายตามากๆ ยิ่งกว่าทำงานอยู่หน้าคอมฯ ทั้งวันอีกครับ ถ้าใครผ่านไปแถวนั้นอย่าลืมแวะเข้าไปชมนะครับ อยู่ที่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งนอกจากผ้าจกที่ขึ้นชื่อแล้วใกล้ๆ กันนั้นยังเป็นที่ตั้งของ นครโบราณด้วยครับ...ถ้าใครผ่านไปแถวนั้นอย่าลืมแวะเข้าไปชมนะครับ อยู่ที่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งนอกจากผ้าจกที่ขึ้นชื่อแล้วใกล้ๆ กันนั้นยังเป็นที่ตั้งของ นครโบราณด้วยครับ

โอ่งราชบุรีทำไมต้องเขียนลายมังกร
คนจีนซึ่งเคยทำเครื่องปั้นดินเผามาก่อนจากเมืองจีน ได้มาริเริ่มทำโอ่ง อ่าง ไห ขาย
จีนรุ่นบุกเบิกชื่อ นายจือเหม็ง แซ่อึ้งและพรรคพวก ได้รวบรวมทุนได้ 3,000 บาทตั้งโรงงานเถ้าเซ่งหลีขึ้น
เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 เป็นโรงงานขนาดเล็กบริเวณสนามบินอยู่ตรงข้ามโรงเรียนอนุบาลราชบุรีเดี๋ยวนี้ แหล่งดิ
สีแดงที่ราชบุรีก็ค่อนข้างจะมีคุณภาพเหมือนที่เมืองจีน ดังนั้น จากเดิมเราใช้โอ่งอ่างไหจากเมืองจีน ผู้ริเริ่มก็ทำ อ่าง ไห กระปุก และโอ่งบ้างเล็กน้อย ให้ชาวมอญราชบุรีใส่เรือไปเร่ขาย
การทำโอ่งได้ริเริ่มอย่างจริงจังก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินขาวที่ใช้แต่งลวดลายเดิมได้มาจากเมืองจีน
ต่อมาได้หาทดแทนจากดินที่ท่าใหม่จันทบุรี และสุราษฏร์ธานี
เมื่อกิจการรุ่งเรืองขึ้น โรงงานจึงขยายกิจการและผลิตโอ่งเพิ่มมากขึ้น หุ้นส่วนหลายคนแยกตัวไปตั้งโรงงานเอง โดยเฉพาะในจังหวัดราชบุรี
ปัจจุบันมีโรงงานผลิตโอ่งอยู่ถึง 42 แห่ง และเป็นโรงงานผลิตเครื่องเคลือบรูปแบบต่าง ๆ ออกไปอีก 17 แห่งตามจังหวัดอื่น ๆ ที่แยกไปจากนี้ คือ ที่อำเภอ
หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัดชลบุรีและในกรุงเทพมหานครบริเวณ สามเสน เป็นต้น
เจ้าของโรงงาน ช่างปั้น และประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดราชบุรี เมื่อครึ่งศตวรรษมาแล้วล้วนเป็นลูกหลานจีน ดังนั้นช่างปั้นจึงได้คิดคัดเลือกลวดลายที่เป็นมงคล และมี ความหมายที่ดี เพื่อให้เกิดความรู้สุกที่ดีต่อผู้ใช้ นอกเหนือจากความงามเพียงอย่างเดียว ที่สุดก็ได้เลือกสรรลวดลายมังกร ซึ่งแฝงและฝังไว้ด้วยความหมายตามความเชื่อ คตินิยมในวัฒนธรรมจีน ลวดลายมังกรดั้นเมฆ มังกรคาบแก้ว และมังกรสองตัวเกี่ยวพันกัน ล้วนเป็นสัตว์สำคัญในเทพนิยายของจีน เป็นเทพแห่งพลัง แห่งความดี และแห่งชีวิต ช่างปั้นเลือกเอา มังกรที่มี 3 เล็บหรือ 4 เล็บ เป็นลวดลายตกแต่งโอ่ง ช่างผู้ชำนาญปาดเนื้อดินด้วยหัวแม่มือเป็นรูปมังกร โดยไม่ต้องร่างแบบ ขีดเป็นลายมังกรด้วยปลายซี่หวี เป็นหนวด นิ้ว เล็บ ส่วนเกล็ดมังกรหยักด้วยแผ่นสังกะสีแล้วเน้นลูกตาให้เด่นออกมา

มารู้จักมังกรซิครับ พญานาค เป็นชื่อที่คนไทยเรียก มังกร
เป็นชื่อที่คนจีน ญี่ปุ่น เกาหลีและญวนใช้เรียก จึงผิดกันเฉพาะรูปร่างหน้าตาและชื่อที่เรียกเท่านั้น ไทยเราไม่เรียก แล้ง เล่ง หรือ หลง ตามภาษาจีน แต่เรียกมังกร มาจากบาลีสันสกฤตว่า มกร หรืออย่างไร ก็ไม่ทราบ ว่าถึงรูปร่างมกรก็เป็นอีกแบบหนึ่งไม่เหมือนรูปเล่งของจีน ในหนังสือตำราพิชัยสงคราม สมัยรัชกาลที่ 2 มีการจัดขบวนทัพข้ามน้ำเรียกว่า มังกรพยุหะ ก็เขียนรูปมังกรคล้าย พญานาค เพียงแต่เพิ่มเขาและเท้าเข้าไปเท่านั้น บางตัวก็มีเกล็ด บางตัวก็มีลายแบบงู ความจริงรูปร่างมังกร
แบบจีน คนไทยก็คงเคยเห็นมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้วใน สมัยรัตนโกสินทร์ก็ใช้เป็นลายประดับตามประตู และสลักบนแผ่นหินหลายแห่งรูปมังกรของจีนคงจะได้แพร่หลายไปตามภาชนะพวกถ้วยชามโอ่งไห ดังได้พบบนลายโอ่ง สมัยราชวงศ์ถังที่พบในแม่น้ำลำคลอง ความจริงแล้วเรื่องของมังกร พญานาค งู ปลา จระเข้ มีเรื่องพัวพันกันชอบกลเรื่องของจีนที่เกิดสมัยที่นับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ไทยแปลคำว่า เล้ง เล่ง หลง เป็น พญานาคหมด ทำให้คนไทยเข้าใจเรื่องดีขึ้น และไทยก็เอารูปมังกรมาเขียนเป็นเป็นแบบไทย ๆ คล้ายพญานาคดังกล่าวมาแล้ว ในหนังสือประวัติวัฒนธรรมจีนได้กล่าวถึงกำเนิดมังกรไว้เป็นความว่า มังกรเกิดขึ้นในสมัยอึ่งตี่หรือหวงตี้ ได้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องหมายประจำชาติจีน เพราะ สมัยโบราณมนุษย์นิยมใช้รูปสัตว์หรือดอกไม้เป็นเครื่องหมายประจำเผ่าของตน ชาติจีนที่ได้รวมขึ้นเป็นชาติใหม่ จึงควรมีเครื่องหมายประจำชาติใหม่ กษัตริย์อึ่งตี่จึงนำ ส่วนต่าง ๆ ของสัญลักษณ์ที่แต่ละเผ่าเคยใช้มารวมกัน คือนำหัวของสัญลักษณ์ชนเผ่าวัว ลำตัวของเผ่างู เกล็ดหางของเผ่าปลา เขาของเผ่ากวาง และเท้าของเผ่านก นำ ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้มาปรุงเป็นรูปสัตว์ชนิดใหม่ขึ้นเรียกว่า เล้ง หรือมังกร มังกรมีเล็บไม่เท่ากัน มังกรผู้ยิ่งใหญ่หรือระดับหัวหน้าจะมี 5 เล็บ และรูปมังกรที่ฉลองพระองค์ของจักรพรรดิจะมีเล็บมากกว่ามังกรธรรมดา คือ ธรรมดามีเพียง 4 เล็บ
รูปมังกรที่ฉลองพระองค์ก็จะมี 5 เล็บ และใช้เป็นเครื่องหมายของราชวงศ์ที่มียศสูงสุดส่วนพวกเจ้าชั้นที่ 3 ที่ 4 หรือขุนนางใช้เป็นเครื่องหมายได้เพียงมังกรชนิดชนิด 4 เล็บเท่านั้น ส่วนการประดับตกแต่งทั่ว ๆ ไปก็จะใช้มังกรชนิด 3 เล็บเป็นพื้น มังกรชนิด 5 เล็บนั้นกล่าวว่าเล็บที่ 5 ไม่ได้เรียงกันแบบธรรมดา เล็บที่ 5 จะวางอยู่ตรงกลางฝ่า เท้า มังกรของจีน นอกจากจะมีเขาแบบกวางแล้ว ตัวผู้ยังมีหนวดมีเคราอีกด้วย ตั้งแต่รัชกาล เถาจื่อ แห่งราชวงศ์ถัง ได้เริ่มใช้มังกร 5 เล็บ เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ มังกรมี 3 ชนิด แต่แบ่งหน้าที่เป็น 4 พวก
จีนได้แบ่งชนิดของมังกรออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ
หลง เป็นพวกที่มีอำนาจมากที่สุด มีนิสัยชอบอยู่บนฟ้า
หลี เป็นพวกที่ไม่มีเขา อาศัยอยู่ในมหาสมุทร
เจียว เป็นพวกมีเกล็ด อยู่ตามลุ่มหนองหรือถ้ำในภูเขา
ที่รู้จักกันมากคือ หลง ซึ่งมีส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ 9 อย่างดังกล่าวมาแล้ว
มังกรของจีนมีหน้าที่แบ่งกันทำ 4 พวกด้วยกัน คือ
มังกรสวรรค์ มีหน้าที่รักษาวิมานเทวดาและค้ำจุนวิมานไม่ให้พังลงมา
มังกรเทพหรือมังกรเจ้า มีหน้าที่ให้ลมให้ฝนเพื่อประโยชน์ของมนุษย์
มังกรพิภพ มีหน้าที่กำหนดเส้นทางดูแลแม่น้ำลำธาร
มังกรเฝ้าทรัพย์ มีหน้าที่เฝ้าขุมทรัพย์ของแผ่นดิน
มีเรื่องน่าสังเกตว่า หน้าที่ของมังกรไปตรงกับหน้าที่ของพญานาค ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 พวกเหมือนกัน ไทยรู้จักมังกรมาตั้งแต่เมื่อไร
อย่างต่ำที่สุดก็ พ.ศ.2276 ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มีรูปมังกรประดับพระเมรุด้วย แต่รูปร่างจะเป็นอย่างไรไม่ทราบ มาเห็นรูป
ร่างมังกรในตำราพิชัยสงครามสมัยรัชกาลที่ 2 กรุงรัตนโกสินทร์ก็เป็นแบบไทย ๆ คือคล้ายพญานาค แต่ไม่มีหงอนสูง มีเขา 2 เขา มีครีบ มีตีน
ทำไมรูปมังกรจึงต้องมีลูกแก้วด้วย
ตามตำนานกล่าวว่า มังกรมีไข่มุกมีค่าเท่ากับทองร้อยแท่งอยู่ในปาก เมื่อมังกรต่อสู้กันอยู่บนอากาศ ไข่มุกก็ตกลงมาบนพื้นดิน ต้นเรื่องของมังกรคาบแก้วหรือเล่น
แก้วจะมาจากเรื่องนี้หรือเปล่าไม่ทราบ แต่ฟังตามเรื่องแล้วมังกรชอบเพชนนิลจินดามาก ตามภาพเขียนของจีนถ้าเป็นรูปมังกร 2 ตัวหันหน้าเข้าหากัน ก็จะเป็นรูปกลม ๆ สี
แดงอยู่ระหว่างมังกรทั้งสองนี้ บ้างก็ว่ารูปกลมแดงนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
ภูมิใจในคำขวัญ “เมืองโอ่งมังกร”
ด้วยพื้นฐานของช่างปั้นซึ่งเป็นลูกหลานของคนจีน เนื้อดินเหนียวเป็นวัตถุดิบชนิดดี ช่างติดลายได้นำความสามารถเชิงศิลปะสะท้อนภาพชีวิตตามวัฒนธรรมจีน มา
ผสมผสานกับเทคนิคการผลิตเป็นอุตสาหกรรม อดีตจากท่าน้ำหน้าเมือง โอ่งมังกรจะแพร่ไปทั่วตามแม่น้ำลำคลอง ที่เรือขายโอ่งจะผ่านไปได้ จนปัจจุบันนี้ รถบรรทุกสิบล้อ จะขนไปขายทั่วประเทศอย่างเนื่อง ไม่ว่าเหนือจรดใต้ จนเป็นที่รู้จักว่าราชบุรีคือเมืองโอ่งมังกร
เมื่องานกีฬาเยาวชนครั้งที่ 5 และงานมหกรรมของดีเมืองราชบุรี ปี 2532 จังหวัดได้สร้างคำขวัญเพื่อเผยแพร่ให้รู้จักจังหวัดราชบุรี ว่า
“คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี”
ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหรมมพื้นบ้านของสำนักงานอุสาหกรรมจังหวัดราชบุรีสามารถพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมเซรามิกส์ เช่น โรงงานเถ้าฮงไถ่ก็หันไปผลิตเครื่อง ปั้นดินเผ่าประเภทออกแบบลวดลาย สวยงามตามความต้องการของลูกค้าผลิตภัณฑ์จากโรงงานนี้ได้ มาตรฐานสามารถส่งออกไปจำหน่าย
ต่างประเทศได้ กรมศิลปากรเคยมาว่าจ้างให้ผลิตเครื่องปั้นดินเผ่าที่มีคุณค่าเพื่อใช้ในงานฉลอง 200 ปี กรุงเทพมหานคร ถ้วยชามเบญจรงค์เลียนแบบของเก่าก็มีผลิตที่ โรงงานรัตนโกสินทร์นักท่องเที่ยวที่ผ่านมาถึงราชบุรีก็อดใจซื้อติดมือกลับไปไม่ได้ ส่วนโรงงานสยามราชเครื่องเคลือบก็พัฒนาการผลิตเป็นแจกัน เลียนแบบเครื่องสังคโลก แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมนัก บางโรงงานก็ก้าวไปไกลหันไปผลิตถ้วยชามและของชำร่วย เช่น โรงงานเซรามิกส์บ้านโป่ง
ปัจจุบันบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคนิคและวิทยาการของอุตสาหกรรม มีการประดิษฐ์วัตถุภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้แทนไหโอ่งมากขึ้นประกอบ กับเริ่มมีปัญหาเรื่องปิดป่าหาฟืนยาก จนถึงกับต้องตั้งเป็นสมาคมโรงงานสมาชิกต้องร่วมใจกันเสียสละปลูกป่าทดแทนในเขตสัมปทานโดยเฉพาะ พร้อมกันนั้นต้องหันมาใช้ แก๊สช่วยในการเผาไหม้ นับเป็นผลกระทบต่อธุรกิจการค้าของโรงงาน อย่างไรก็ตาม โอ่งลายมังกรเมืองราชบุรี คงจะเป็นสินค้าออกของจังหวัดไปอีกนานทีเดียว การทำโอ่งมังกรมีด้วยกัน ๕ ขั้นตอน ครับ
ขั้นตอนที่ ๑ การเตรียมดิน เนื้อดินสีน้ำตาลแดงที่ได้จากท้องนาทั่วไปในจังหวัดราชบุรีเป็นเนื้อดินเหนียวที่มีคุณภาพดีเยี่ยม มีความละเอียดเหนียวเกาะตัวกันได้ดีนำมาหมักไว้ในบ่อดิน แช่น้ำทิ้งไว้ ๑ สัปดาห์เพื่อให้น้ำซึมเข้าในเนื้อดินให้ดินอ่อนตัวทั่วถึงกันและเป็นการทำความสะอาดดินไปในตัวด้วย หลังจากนั้นตักดินขึ้นมากองไว้ แทงหรือตักดินด้วยเหล็กลวดให้เป็นก้อน นำเข้าเครื่องโม่หรือเครื่องนวดเพื่อให้เนื้อดินเข้ากัน แล้วใช้เหล็กลวดหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลวดตัวเก็ง ตักดินที่โม่แล้วให้เป็นก้อนมีขนาดเหมาะพบกับการปั้นงานแต่ละชิ้นนำมานวด โดยผสมทรายละเอียดเล็กน้อยอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้โอ่งมังกรมีเนื้อที่แกร่งและคงทนยิ่งขึ้น

ขั้นตอนที่ ๒ การขึ้นรูปหรือการปั้น แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ
ส่วนขาหรือส่วนกัน โดยการนำดินที่ผ่านการนวดให้เป็นเส้นแล้วมีความยาวประมาณ ๓๐ เซลติเมตร วางลงบนแผ่นไม้ ซึ่งวางบนแป้น ก่อนวางต้องใช้ขี้เถ้าโยเสียก่อนเพื่อไม่ให้ดินติดกับแผ่นไม้และสะดวกต่อการยกลง เนื้อดินส่วนนี้มีลักษณะเป็นก้อนกลมหรือก้อนสี่เหลี่ยมแผ่ออกเป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางตามขนาดของโอ่งที่ต้องการ จากนั้นนำดินเส้นมาวางต่อกันเป็นชั้นเรียนกว่า การต่อเส้น เมื่อปั้นตัวโอ่งและยกลงจากแป้นแล้ว ตบแต่งผิวด้านนอกและ ด้านใน โดยการขูดดินที่ไม่เสมอกันออกให้ผิวเรียบ แล้วใช้ลูบเพื่อให้ผิวเนียนอีกครั้งหนึ่ง
ส่วนลำตัว นำตัวขาหรือส่วนก้นที่แห้งพอหมาดมาวางบนแป้นที่มีขนาดเตี้ยกว่าแป้นที่ปั้นส่วนขา ตบแต่งผิวอีกครั้งด้วยฮุยหลุบและไม้ตี นำดินเส้นมาวางต่อกันเป็นชั้นสำหรับส่วนสำตัวทำนองเดียวกับส่วนขา วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางให้ได้ตามต้องการ ใช้ไม้ต๊าขุดดินและแต่งผิวให้เรียบ ทิ้งไว้พอหมาด
ส่วนปาก ลักษณะการต่อเส้นคล้ายกับสองส่วนแรก แป้นมีขนาดเตี้ยลงอีกก่อนจะต่อเส้นต้องตบแต่งผิวส่วนลำตัวและส่วนขาด้วยไม้ต๊าเสียก่อน ใช้ดินเส้นประมาณห้าเส้นวัดความสูงได้ประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ใช้พองน้ำลูบผิวให้เรียบ จากนั้นใช้ผ้าด้ายดิบชุบน้ำลูบส่วนบน พร้อมกับบีบหรือกดให้ขึ้นเป็นรูปขอบปากโอ่ง ใช้ไม้ต๊าตบแต่งให้เรียบเสมอกันอีกครั้งหนึ่ง ยกไปวางผึ่งให้เป็นระเบียบ เพื่อรอการทำในขั้นต่อไป สำหรับการยกลงจากแป้นนั้นต้องใช้ช่างปั้นสองคนช่วยกันยกด้วยเชือกหาม เป็นเชือกที่นำมามัดไขว้กันเป็นวงกลมให้มีขนาดเท่ากับตัวโอ่งพอดี ปล่อยปลายยาวทั้งสองด้านสำหรับจับยกหาม สำหรับส่วนปากซึ่งทำไว้เป็นจำนวนมากนั้น ถ้าทิ้งไว้นานก่อนถึงขั้นตอนการเขียนลายจะทำให้แห้งเกินไป จึงต้องทำให้อยู่ในสภาพเปียกหมาดๆ อยู่เสมอ โดยใช้พลาสติกคลุมไว้ การขึ้นรูปโอ่งแต่ละใบใช้เวลาประมาณ ๒๐ - ๓๐ นาที


ขั้นตอนที่ ๓ การเขียนลาย ก่อนที่จะนำโอ่งมาเขียนลาย ต้องตบแต่งผิวให้เรียบเสียก่อนด้วยฮุ่ยหลุบและไม้ตี โอ่งที่ตบแต่งผิวเรียบร้อยแล้วจะต้องนำมาเขียนลายทันทีเพราะถ้าทิ้งไว้เนื้อดินจะแห้งทำให้เขียนลายไม่ได้ สำหรับแป้นที่ช่างใช้เขียนลายนั้นจะต้องเป็นแป้นไม้หมุน ขณะเขียนลายลงบนตัวโอ่งช่างจะใช้เท้าถีบที่แกนหมุนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเขียนเสร็จ วัสดุที่ใช้เขียนลายเป็นดินเนื้อละเอียดผสมกับดินขาวเรียกว่า ดินติดดอก มีสีนวล ดินขาวนั้นได้มาจากจังหวัดจันทบุรีหรือสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีคุณภาพดี เหมาะสำหรับการนำมาเป็นดินติดดอกบนตัวโอ่งราชบุรี ช่างเขียนลายจะใช้ดินสีนวลนี้ปาดด้วยมือเป็นเส้นเล็กๆ รอบตัวโอ่งแบ่งเป็นสามตอนหรือสามช่วง คือช่วงปากโอ่งลำตัวและส่วนเชิงล่างของโอ่ง ในแต่ละตอนแตะละช่างจะมีลวดลายที่ไม่เหมือนกัน ช่วงปากโอ่ง นิยมเขียนลายดอกไม้ หรือลายเครือเถา ใช้วีที่เรียกว่าพิมพ์ลาย นำกระดาษฉลุลายวางทาบบนโอ่งแล้วปาดด้วยดินติดดอก ใบหนึ่งๆ จะมีประมาณ ๔ ช่วงตัวแบบ ช่วงลำตัว นิยมเขียนรูปมังกรมีทั้งมังกรดั้นเมฆ มังกรคาบแก้ว และมังกรสองตัวเกี่ยวกัน ช่างเขียนลายจะเป็นผู้ที่ชำนาญมาก ปาดเนื้อดินด้วยหัวแม่มือเป็นรูปร่างมังกรอย่างคร่าวๆ โดยไม่ต้องมีแบบร่างก่อน จากนั้นจะใช้ปลายหวีขีดเป็นตัวมังกรใช้ซี่หวีตกแต่งเป็นส่วนหนวด นิ้วและเล็บสำหรับเกล็ดมังกรใช้สังกะสีที่ตัดปลายหยักไปมาบนตัวมังกร และเน้นส่วนลูกตาของมังกรให้มีความนูนเด่นออกมา ช่วงเชิงล่างของโอ่ง ใช้วิธีการติดลายคล้ายกับส่วนปาก จากนั้นใช้น้ำลูบที่ลายทั้งหมด เพื่อให้ลายมีผิวเรียบเสมอกันและลื่น เป็นการเตรียมสู่ขั้นตอนการเคลือบและเผาต่อไปโอ่งแต่ละใบช่างผู้ชำนาญจะใช้เวลาการเขียนลายประมาณ ๑๐ นาที


ขั้นตอนที่ ๔ การเคลือบ น้ำยาที่ใช้ในการเคลือบเป็นส่วนผสมของขี้เถ้าและน้ำโคลนหรือเลนและสีเล็กน้อย ซึ่งเป็นสีที่ได้จากออกไซด์ของเหล็ก ส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลเข้มการเคลือบจะนำโอ่งไปวางหงายในกระทะขนาดใหญ่ หรือกระทะในบัว ใช้น้ำยาเคลือบเทราดให้ทั่วทั้งด้านในและด้านนอก แล้วจึงนำไปวางผึ่งลมไว้ โอ่งที่เคลือบน้ำยานั้น นอกจากจะทำให้เกิดสีสันสวยงานเป็นมันเมื่อเผาแล้ว ยังช่วยในการสมานรอยต่างๆ ในเนื้อดินให้เข้ากัน เมื่อนำไปใส่น้ำจะไม่ทำให้น้ำซึมออกมาด้านนอกด้วย


ขั้นตอนที่ ๕ การเผา เตาเผาโอ่งมังกรเรียกว่า เตาจีนหรือเตามังกง ก่อด้วยอิฐทนไฟเป็นรูปยาว ด้านหัวเตาเจาะเป็นช่องประตูสำหรับเป็นทางลำเลียงโอ่งและภาชนะดินเผาอื่นๆ ด้านบนของเตาทั้งสองด้านเจาะรูเป็นระยะ เรียกว่า “ตา” เพื่อใช้ใส่เชื้อเพลิงคือฟืนปัจจุบันใช้ฟืนไม้กระถิน ลักษณะของเตามังกรนี้ด้านหนึ่งอยู่ระดับเดียวกับพื้นดินใช้เป็นหัวเตาสำหรับก่อไฟ อีกด้านหนึ่งสูงกว่าเพราะต้องทำให้ตัวเตาเอียงลาด เป็นส่วนก้นของเตา ใช้เป็นปล่องระบายควัน ก่อนการสำเลียงโอ่งเข้าเตาเผา ต้องเกลี่ยพื้นเตาในให้เรียบเสมอกันก่อนแล้วจึงจัดวางโอ่งให้เป็นระเบียบ การวางโอ่งซ้อนกันจะมีแผ่นเคลือบเรียนว่า “กวยจักร” เป็นตัวรองไว้ นอกจากตัวโอ่งแล้วถ้ายังมีที่ว่างเหลือก็จะนำไห ชาม กระถาง ที่มีขนาดเล็กมาวางเผาพร้อมกัน สำหรับภาชนะขนาดเล็กมีดินรองที่ปากซึ่งเป็นดินเหนียวผสมทราย เมื่อลำเลียงโอ่งเข้าประตูเตาแล้ว ก่อนเผาจะต้องใช้อิฐปิดทางให้มิดชิด เพื่อมิให้ความร้อนระบายออกได้ เตาขนาดใหญ่สามารถจุโอ่งได้คราวละ ๓๐๐ – ๔๐๐ ใบ หรือสามารถนำออกบรรทุกรถขนาดใหญ่ได้เตาละ ๕ คัน การจุดไฟต้องเริ่มจุดที่หัวเตาก่อน เมื่อติดดีแล้วทยอยใส่ฟืนที่ช่องเตาทั้งสองด้าน ความร้อนในเตาต้องมีอุณหภูมิถึง ๑,๒๐๐0 การดูว่าโอ่งนั้นเผาสุกได้ที่หรือยังต้องดูตามช่องใส่ฟืนและต้องดูจากชั้นต่ำสุดก่อน หากยังไม่สุกดีก็ต้องเติมไฟลงไปอีก ถ้าสุกดีแล้วก็ใช้อิฐปิดช่องนั้น และดูช่องถัดไปตามลำดับด้วยวิธีเดียวกัน จนกว่าจะสุกทั่วทั้งเตาจึงเลิกใส่ฟืน แล้วปล่อยให้ไฟดับเอง ทิ้งไว้ประมาณ ๑๐ – ๑๒ ชั่วโมง ความร้อย
ในเตาจะค่อยลดลงจนสามารถเปิดช่องประตูเตานำโอ่งออกมาได้
วันหนึ่งๆ มีโอ่งมังกรนับหมื่นใบถูกลำเลียงออกไปขายทั่งประเทศ จากเส้นทางสัญจรทางน้ำมาเป็นทางหลวงแผ่นดิน โอ่งมังกรก็สามารถไปไกลทั่วทุกภาคของประเทศบางครั้งไปถึงต่างประเทศในเอเชีย เป็นการนำมาซึ่งรายได้มหาศาลแก่ประเทศชาติ





การสานเข่งวัสดุไม้ไผ่รวก
วิธีทำ
นำไม้ไผ่รวกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 - 5 เซนติเมตร เข้าเครื่องผ่า 4 ส่วน 8 ส่วน แล้วใช้มีดจักทำตอก ขนาดหนา 1 ส่วน จะได้ตอก 4 เส้น ไม้ไผ่ 1 ลำ จะได้ ตอก 32-35 เส้น ใช้สานเข่งใหญ่ได้ 1 ใบ เข่งเล็กได้ 2ใบ การสานจะเริ่มจาก ก้นเข่งแล้วนำไปวางบนแท่นที่มีขนาด ก้นตามต้องการสานตัวเข่งเสร็จแล้ว จึงเข้า ขอบปากเข่งและหูหิ้ว ผู้ที่ชำนาญ สามารถ ผลิตได้ถึละ 18 - 20 ลูก




























การประยุกต์ใช้
ใช้ใส่ผลไม้ประเภทกล้วย ส้ม มะนาว และผัก เพื่อ ส่งไปขาย เพราะสามารถบรรจุของได้มาก เวลา ยกขึ้นรถยนต์หรือรถบรรทุก สามารถจับตรง ขอบแล้วยกขึ้นได้ เพราะขอบแข็งแรงและ ยังมีฝาสำหรับปิดด้วย